ข้อคิดจาก Site Visit สถาบันอุดมศึกษา

 

 

ประสบการณ์ที่ผ่านพบจากการออกไปประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๐รอบ ๑๒ เดือน ผู้เขียนในฐานะผู้ประเมินได้เรียนรู้หลายสิ่งทั้งจากทีมคณะกรรมการและจากสถาบัน   อุดมศึกษาจึงอยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะบางประการ

 

ปัญหาร่วมที่พบจากการตรวจเยี่ยม (Site Visit) รอบ ๑๒ เดือน มีอย่างน้อย ๒ ประการ คือ

. ความเข้าใจที่ไม่ตรงหรือคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำนิยามของตัวชี้วัด เกณฑ์การให้คะแนนและแนวทางการประเมินในแต่ละตัวชี้วัดที่ระบุไว้ในคู่มือการประเมินฯ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม นำไปสู่ผลที่ไม่พึงประสงค์ของทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกรับการประเมินท่ามกลางบรรยากาศ  “เผชิญหน้า”  “ถูกผิด”  “ใช่/ไม่ใช่”  “การปกป้องตนเอง” และ “การหาแพะรับบาป”

 

ปรากฏการณ์ทำนองนี้เป็นบทเรียนเตือนสติว่าคู่มือหรือเอกสารสำคัญใด ไม่ใช่เป็นเครื่องรับประกันว่า ผู้ประเมินและผู้รับการประเมินจะเข้าใจในสิ่งที่จะประเมินตรงกัน เพราะมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร คงจะต้องหาวิธีและมาตรการเสริมเพื่อทำให้มั่นใจว่า ทุกฝ่ายมีความเข้าใจที่ถูกต้องในนิยาม เกณฑ์การให้คะแนน (รวมทั้งสูตรการคำนวณ) และแนวทางการประเมินของแต่ละตัวชี้วัด ตั้งแต่

การเจรจา ระหว่างการเจรจา และโดยเฉพาะการตรวจเยี่ยมรอบ ๖ เดือน มีความสำคัญมากสำหรับ “กัลยาณมิตรประเมิน”

 

ความเข้าใจไม่ถูกต้องนำไปสู่การวางระบบและการเตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐานประกอบตัวชี้วัดที่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เสียเวลา เสียความรู้สึกและเสียผลประโยชน์อย่างที่ไม่ควรจะเป็น นำไปสู่การไม่เห็นคุณค่าของระบบการประกันคุณภาพ จิตสำนึกแห่งคุณภาพก็ยากจะเกิด ตัวอย่างที่พบบ่อยในปัญหานี้ ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ ๘, ๑๔ และ ๒๓ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สถาบันประเมินตนเองที่ระดับ ๕ แต่ถูกปรับลดค่าระดับคะแนนลงเหลือ ๑ เพราะเข้าใจไม่ตรงกัน

 

ตัวชี้วัดที่ ๘ ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษา

เหตุผลที่สถาบันประเมินตนเองที่ค่าคะแนนระดับ ๕ คล้ายๆ กัน คือ สถาบันมีคณะกรรมการและมีเอกสารจรรยาบรรณ

บางแห่งมีคู่มือปฏิบัติตามจรรยาบรรณ แต่ไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า มีระบบการกำกับติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์ บางแห่งไม่ได้นำมาตรฐานจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษาตามประกาศ กพอ. ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เรื่องคำอธิบายเพิ่มเติมคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๐

 

ตัวชี้วัดที่ ๑๔ ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ

เหตุผลที่สถาบันประเมินตนเองที่ค่าคะแนนระดับ ๕ คือ มีบุคคลภายนอก เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบไปด้วย กรรมการภายนอก มีโครงการที่ทำร่วมกับประชาชนหลายโครงการ แต่ปัญหาคือ ไม่มีหลักฐานเอกสารแสดงว่า สถาบัน/มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ภารกิจหลักหรือยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและนำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเหมาะสม จึงไม่มีการแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชนตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดการดำเนินการของแต่ละขั้นตอนในคู่มือ

ตัวชี้วัดที่ ๒๓ ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ามีการศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล และที่สำคัญ ไม่มีหลักฐานแสดงว่า

คณาจารย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๗๕) ได้ปฏิบัติตามประเด็นย่อยทั้ง ๗ ประเด็น

ตัวอย่างตัวชี้วัดทั้ง ๓ ตัว เป็นตัวชี้วัดบังคับทั้งหมดและเป็นแบบระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) เมื่อไม่ผ่านขั้นแรก

ก็ไม่ผ่านขั้นต่อๆ ไป จากที่คิดว่า ใช่ และน่าจะได้ ๕ ก็กลายเป็น ไม่ใช่ และได้แค่ ๑ ก็เสียความรู้สึกด้วยกันทุกฝ่าย ฝ่ายหนึ่งอ้างมาตรฐานและอิงแนวทางการประเมินตามคู่มือ  อีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าได้ทำแล้ว ฝ่ายหนึ่งได้ปฏิบัติตามหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบตามมาตรฐาน อีกฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์และอาจจะเสียหน้า  แต่ทั้งสองฝ่ายเสียดายและเสียความรู้สึก

หากต้องการพัฒนาระบบคุณภาพและจิตสำนึกคุณภาพในสถาบันอุดมศึกษา เราคงต้องช่วยกันสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้น

ผ่านกระบวนการการทำงานที่มีอยู่และสร้างมาตรการ/วิธีการเสริมเติมเต็มในสิ่งที่ขาด กระบวนการ มาตรการ วิธีการทั้งหมด

ควรมุ่งเน้นที่ทุกฝ่ายรู้สึกว่า “ได้” ไม่ใช่ “เสีย”  ถึงจะไม่ได้คะแนน แต่ก็ได้ความรู้ ถึงจะไม่ได้ผลประโยชน์ตอนต้น แต่ก็ได้คุณภาพและความสำเร็จกลับมาตอนท้าย

การทำให้ผู้ปฏิบัติได้รับรู้และเข้าใจนิยาม เกณฑ์การให้คะแนน และแนวทางการประเมินผลของแต่ละตัวชี้วัดอย่างถูกต้องและปฏิบัติด้วยจิตสำนึกคุณภาพ จึงเป็นภารกิจหลักที่ท้าทายของทุกฝ่ายที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ

 

๒. ระบบข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งยังไม่ดีพอ ข้อมูลพื้นฐานเพื่อรับรองการประเมินไม่ครบถ้วน

 

ปัญหาหลักทั้งสองประการ หากมีการนำมาพูดคุยกันในลักษณะกัลยาณมิตรเสวนา ในรูปแบบการสัมมนาหรือจัดอบรม

เพื่อการพัฒนาระบบคุณภาพและโดยเฉพาะตัวชี้วัดที่สถาบันเข้าใจไม่ถูกต้องหรือยังคิดไม่ออกว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะ

บรรลุผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ก็จะเป็นประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

ข้อคิดเชิงเสนอแนะ

ข้อคิดเชิงเสนอแนะ

กัลยาณมิตรประเมินที่เริ่มต้นโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการ สมศ. ยังคงเป็นปรัชญาหลัก

ที่สำคัญของการประเมินแนวใหม่ที่ควรใช้เป็นแนวปฏิบัติ (Approach) ในทุกขั้นตอน และทุกกระบวนการของศาสตร์และศิลป์ของการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา เพราะถ้าทีมผู้ประเมินยึดมั่นในแนวทางนี้ โอกาสที่สถาบันผู้รับการประเมินจะ “รับรู้” “เข้าใจ” และ “ยอมรับ” ผลการประเมินตามความเป็นจริง

ก็จะเพิ่มขึ้น โอกาสที่แต่ละสถาบันจะใส่ใจให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพและระบบประกันคุณภาพก็น่าจะเพิ่มขึ้น คุณภาพของคณาจารย ์ คุณภาพของบัณฑิต คุณภาพของอุดมศึกษาไทย และในที่สุดคุณภาพของการศึกษาไทยก็จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

มาช่วยกันลดความต่างระหว่างผลการประเมินตนเองกับการประเมินภายนอกให้เข้าใกล้หรือเท่ากับ ๐

มาช่วยกันเพาะและขยายเมล็ดพันธุ์ “กัลยาณมิตรประเมิน” ให้เต็มแผ่นดินของการศึกษาไทย แล้วแพร่ขยายไปสากล

มาช่วยกัน “สร้าง” “เสริม” และ “เติมเต็ม” อย่าง “ต่อเนื่อง” ด้วยกัลยาณมิตรประเมิน การประเมินที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ การประเมินที่เกิดจากใจ ทำด้วยใจ และสุขใจที่ได้ทำ

 

 

โดย : จุมพล  พูลภัทรชีวิน , (สมศ.)