ประสบการณ์และบทเรียนที่ได้จากการเยี่ยมเยือนสถาบันอุดมศึกษา :  คำอธิบายตัวชี้วัดเพิ่มเติม

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์

นาวาตรีหญิง ดร.กิตติยา เอ็ฟฟานส

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์

เพื่อให้มีการดำเนินการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๑ เกิดสัมฤทธิผลสูงสุดและสถาบันอุดมศึกษาได้รับการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ตามรูปแบบกัลยาณมิตรประเมิน (Amicable Assessment Model) โดยดำเนินการตามปรัชญาของการประเมินเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา การมีความเชื่อว่า การเข้าถึงความจริงด้วยความเป็นกลาง เป็นการเข้าถึงทั้งปวง (หลวงปู่แหวน) และการเข้าถึงทั้งปวง เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ การพัฒนาที่ยั่งยืน ความเข้าใจและเข้าถึงวัตถุประสงค์ รวมถึงสาระของตัวชี้วัดเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะดำเนินการและการประเมินผลตามตัวชี้วัด ทั้งส่วนสถาบันอุดมศึกษาและที่ปรึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

 

เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ขอเสนอแนะให้สถาบันอุดมศึกษาและผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดศึกษาคำรับรองการปฏิบัติ ราชการ คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ

.. ๒๕๕๑ พร้อมใบแทรกแก้คำผิดในคู่มือจำนวน ๒ หน้า ถ้ามีข้อสงสัยประการใดขอให้ติดต่อ นาวาตรีหญิง ดร.กิตติยา เอ็ฟฟานส (๐๘-๖๘๙๗-๑๘๖๐, -๒๒๑๖-๕๐๔๐ หรือ E-mail: kittiya@onesqa.or.th) หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (๐๘-๑๘๓๘-๖๗๗๗, -๒๒๑๖-๓๙๕๕ ต่อ ๑๙๐, ๑๙๑ หรือ E-mail: info@onesqa.or.th) สมศ. ในฐานะที่ปรึกษาสำนักงาน ก... ในโครงการนี้พร้อมที่จะให้ความกระจ่างชัดเจนแก่ทุกท่านเสมอ

อย่างไรก็ดี เพื่อเสริมสร้างการทำงานแบบกัลยาณมิตร เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจและเข้าถึงตัวชี้วัดบางตัวยิ่งขึ้น สมศ.จึงได้เขียนคำอธิบายเพิ่มเติมดังนี้

 

ตัวชี้วัดที่ ๘ ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์   เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องโดยดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในของสถาบันตาม มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ ข อ ง พ ร ะ ร า ช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ ฉบับปรับปรุง พ.. ๒๕๔๕  และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

สาระสำคัญ   สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งและทุกหน่วยงานหลักของสถาบันต้องมีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานของการอุดมศึกษาของชาติ และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. ตลอดจนเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในระบบประเมินคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานหลักของสถาบันอุดมศึกษา ต้องวางแผนและจัดระบบพัฒนาคุณภาพที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการประจำปี จัดระบบการติดตามคุณภาพว่าเป็นไปตามเป้าหมายเพียงใด ถ้ายังไม่ได้ตามมาตรฐานและเป้าหมายสถาบันและ

หน่วยงานหลักมีมาตรการกำกับและเร่งรัดอย่างไรบ้าง

นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานหลักดำเนินการประเมินตนเองตามระบบประกันคุณภาพ แล้วจัดทำรายงานประเมินตนเองที่เป็นรายงานประจำปี พร้อมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสืบเนื่องจากประเมินตนเองเพื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยหรือสภาสถาบันพิจารณาเพื่อนำผลประเมินสู่การพัฒนางานประจำ และนำแผนพัฒนาคุณภาพที่ได้รับการอนุมัติสู่การปฏิบัติ ตลอดจนการนำเสนอรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินตนเองต่อต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน อันเป็นการแสดงความโปร่งใสและความรับผิด รับชอบต่อการใช้งบประมาณแผ่นดินของประเทศ โดยเชื่อว่าความโปร่งใสพร้อมรับการตรวจสอบได้ตลอดจนความรับผิด รับชอบของสถาบันอุดมศึกษา ย่อมทำให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

นอกจากนี้สถาบันพึงประเมินผลสัมฤทธิ์ของระบบประกันคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ของระบบประกันคุณภาพภายในที่มีต่อการปฏิบัติพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาในระดับกระบวนการ เช่น การเรียนการสอน หรือระดับผลผลิต เช่น คุณภาพบัณฑิต เป็นต้น ซึ่งในคู่มือ หน้า ๑๒๖ ได้เน้นย้ำให้ประเมินผลลัพธ์หรือผลกระทบของระบบประกันคุณภาพ เพื่อนำผลประเมินมาใช้ในการทบทวนนโยบายการศึกษาและระบบประกันคุณภาพของสถาบัน

ลักษณะตัวชี้วัดที่ ๘ เป็นขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestones) ซึ่งต้องดำเนินตามขั้นตอนตามที่ระบุไว้ในเกณฑ์การให้คะแนนหน้า ๑๒๖ สถาบันและหน่วยงานหลักของสถาบันพึงดำเนินการในแต่ละขั้นตอน พร้อมแสดงหลักฐานการดำเนินงานและผลที่เกิดขึ้น ซึ่งจะใช้ในการประเมินตนเอง และแสดงให้ที่ปรึกษาได้สอบทานคะแนนต่อไป

ข้อแนะนำ

. สถาบันพึงสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์และชี้แจงธรรมชาติของตัวชี้วัดให้ผู้รับผิดชอบทั้งระดับสถาบันและระดับหน่วยงาน เข้าใจถึงวิธีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตัวชี้วัดและบรรลุตามขั้นตอนของความสำเร็จ โดยเฉพาะการดำเนินการในขั้นตอนที่ ๕ การประเมินผลลัพธ์ของระบบการประกันคุณภาพภายใน สถาบันและผู้รับผิดชอบ

ตัวชี้วัดต้องมีความเข้าใจในวิธีการและดำเนินการส่งเสริมให้ระบบประกันคุณภาพภายในมีผลต่อการปฏิบัติพันธกิจของสถาบัน เช่น ทำอย่างไรให้มีการประกันคุณภาพการเรียนการสอนระดับอาจารย์แต่ละบุคคล ระดับหลักสูตร การทำวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ผลงานวิจัยคุณภาพ และระดับความสำเร็จของการบริการวิชาการ เป็นต้น

. ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดจะต้องกำหนดวิธีวิทยาการประเมินเชิงปริมาณหรือ/และเชิงคุณภาพในการประเมินผลลัพธ์ของระบบประกันคุณภาพภายใน และการนำผลไปใช้ในการปรับนโยบายการศึกษา และปรับระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันและหน่วยงานหลักของสถาบัน

. พึงระลึกเสมอว่า ตัวชี้วัดที่ ๘ เป็นการวัดตามขั้นตอนของความสำเร็จ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินตามขั้นตอน จะดำเนินการแบบก้าวกระโดดข้ามขั้นตอนมิได้ลุวัตถุประสงค์ของตัวชี้วัดในแต่ละขั้นตอนก็ประเมินตนเองตามหลักฐานการดำเนินงานและผลที่เกิดขึ้นตามเกณฑ์การให้คะแนนตามคู่มือ หน้า ๑๒๖ พร้อมเตรียมหลักฐานให้ที่ปรึกษาและสำนักงาน ก... สอบทานคะแนนต่อไป

๔.  เมื่อผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตัวชี้วัดในแต่ละขั้นตอนก็ประเมินตนเองตามหลักฐานการดำเนินงานและผลที่เกิดขึ้นตามเกณฑ์การให้คะแนนตามคู่มือ หน้า ๑๒๖ พร้อมเตรียมหลักฐานให้ที่ปรึกษาและสำนักงาน ก... สอบทานคะแนน

 

ตัวชี้วัดที่ ๑๒ ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต

วัตถุประสงค์   เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทราบรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตต่อหัวในแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอน เพื่อให้เกิดแนวทางในการวางแผนการผลิตบัณฑิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สาระสำคัญ   กรมบัญชีกลางได้กำหนดแนวทางในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต เพื่อให้เกิดมาตรฐานการคำนวณแบบเดียวกัน รวมทั้งเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศดังกล่าวในการจัดสรรงบประมาณการศึกษา

ข้อแนะนำ  ในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตนั้น ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการ ดังนี้

. จำแนกกลุ่มสาขาวิชาที่เปิดสอน (ให้เป็นไปตามที่เสนอ สมศ. ไป เพื่อการรับการประเมินภายนอก)

. คิดคำนวณค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยกรอกข้อมูลให้ครบทั้ง ๖ ตาราง ตามที่ปรากฏในคู่มือการประเมินการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ และดำเนินการให้ครบทุกกลุ่มสาขาวิชาที่นำเสนอในข้อ ๑ ทั้งนี้ กระบวนการคิดคำนวณก็ขอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยเฉพาะเกณฑ์การปันส่วน การคิดค่าเสื่อมราคา เป็นต้น หากมีข้อสงสัยให้โทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมบัญชีกลาง สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ กลุ่มมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ โทร. -๒๒๗๐-๐๔๖๓ ทั้งนี้ ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดเก็บหลักฐานในการนำส่ง พร้อมทั้งสำเนาโต้ตอบจากสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก... ไว้เพื่อการประเมินในรอบ ๑๒ เดือนด้วย

. จัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนดตามข้อ ๒และรายงานผลการคำนวณต้นทุนรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดโดยเสนอให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก... ทราบ

. ให้สถาบันดำเนินการพัฒนาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมบัญชีกลางแล้วโดยจะต้องมีการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตกับค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตของสถาบันอุดมศึกษา และมีกระบวนการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และ นำเสนอแนวทางดังกล่าวสู่วาระเพื่อพิจารณาให้กับสภามหาวิทยาลัย

 

ตัวชี้วัดที่ ๒๐ ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์

วัตถุประสงค์   เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้มีการวิเคราะห์ว่า หากสถาบันจะก้าวไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่สถาบันกำหนดขึ้นนั้น จะต้องมีความรู้ในด้านใดบ้าง เพื่อขับเคลื่อนดังกล่าว ทั้งนี้ หากสถาบัน

สามารถดำเนินการจัดการความรู้ทุกองค์ความรู้ที่วิเคราะห์แล้วว่ามีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนให้สถาบันบรรลุวัตถุประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่สถาบันกำหนดขึ้น เชื่อได้ว่าสถาบันจะบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานทุกประเด็นยุทธศาสตร์

สาระสำคัญ  ความรู้ทั้งหมดมีการกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ (Sea of knowledge) ซึ่งตามหลักทฤษฎีการจัดการความรู้นั้นได้วิเคราะห์ไว้ว่า ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นมีอยู่สูงที่สุดถึงร้อยละ ๗๐ ของความรู้ทั้งหมด มนุษย์เราจึงควรทำการเก็บรวบรวม กลั่นกรองความรู้ให้อยู่ในรูปที่สามารถถ่ายโอนไปให้บุคคลอื่นเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม  ทั้งนี้ หากพิจารณาจากองค์ความรู้ที่สนับสนุนให้สถาบันบรรลุสู่เป้าหมายตามประเด็นยุทธศาสตร์นั้น จะพบว่ามีองค์ความรู้จำนวนมาก การคัดเลือกเอาเฉพาะความรู้ที่จำเป็นมากๆ (Critical Knowledge) สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสถาบันแต่ละแห่งย่อมมีปัญหาและความต้องการที่แตกต่างออกไป สมศ. จึงได้พัฒนาแนวทางการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกองค์ความรู้ที่จำเป็นมาดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้หลักการการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs

Assessment) และหลักการจัดลำดับความสำคัญ (Prioritisation) มาประยุกต์ใช้สำหรับตัวชี้วัดนี้

ข้อแนะนำ  การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์นั้น ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการจัดการความรู้อย่างน้อยจำนวน ๒ แผน หากสถาบันมีความประสงค์ที่จะดำเนินการมากกว่า ๒ แผน ก็สามารถกระทำได้ทั้งนี้ให้คัดเลือกแผนที่สามารถดำเนินการได้ดีที่สุดมารับการประเมินเพียง ๒ แผน โดยทั้ง ๒ แผนต้องเกิดจากการคัดเลือกความรู้โดยการวิเคราะห์จากประเด็นยุทธศาสตร์ (ตามแนวทางที่ สมศ. กำหนด) พร้อมทั้งจัดทำแผนการจัดการความรู้ในรูป Gantt chart

เพื่อให้สามารถติดตามประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการจัดการความรู้นั้น สถาบันสามารถเลือกใช้ได้ตามที่สถาบันฯ เห็นควร

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์

. วิเคราะห์องค์ความรู้ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ (สมมติว่ามหาวิทยาลัยมีประเด็นยุทธศาสตร์ในปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๑ จำนวน n ยุทธศาสตร์

 

 

 

แนวทางการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง Y กับ X หมายถึง การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างอะไรที่เราเป็นต้องรู้เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์นี้ (Y) กับเรารู้อะไรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์นี้ (X) ในการวิเคราะห์ดังกล่าวต้องทำให้ครบทุกประเด็นยุทธศาสตร์ และในการวิเคราะห์แต่ละประเด็นต้องใช้ความเห็นจาก

บุคลากรส่วนใหญ่ขององค์กร ด้วยบุคลากรแต่ละคนย่อมมีความเห็นและการรับรู้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป

. วิเคราะห์ความสำคัญของความรู้ที่เกิดขึ้น โดยทำการให้ค่าตัวเลขของ GAP ที่เกิดขึ้น  การพิจารณาความสำคัญของความรู้ดังกล่าวควรใช้วิธีการระดมสมองจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในสถาบันในแต่ละเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้ การเริ่มต้นพิจารณาให้ค่าตัวเลขนั้นเป็นการกระทำในเชิงเปรียบเทียบว่าความรู้ใดมีความสำคัญและมีความเร่งด่วนในการดำเนินการมากกว่ากัน สิ่งหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาให้ความสำคัญร่วมด้วยก็คือ หากความรู้ในข้อใดเป็นความรู้ที่สามารถส่งผลกระทบให้เกิดการสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์อื่นๆ ด้วย ย่อมแสดงว่าความรู้ดังกล่าวควรได้รับการบริหารจัดการก่อน เพื่อเป็นการตัดตอน

การเกิดปัญหาอื่นๆ

ในกระบวนการเปรียบเทียบดังกล่าวสามารถเริ่มต้นให้ความสำคัญกับความรู้แรกที่ระดับคะแนนเป็น ๕ จากนั้นจึงเปรียบเทียบประเด็นความรู้อื่นๆ กับความรู้แรก เพื่อดูว่าความรู้ใดมีความสำคัญในการสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ได้มากกว่ากัน  หากความรู้ใดมีความสำคัญมากกว่าก็พิจารณาให้คะแนนความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นต้น  อย่างไรก็ตามในการจัดอันดับความสำคัญของความรู้ดังกล่าว สามารถวิเคราะห์แบบแยกประเด็นยุทธศาสตร์หรือวิเคราะห์เปรียบเทียบรวมทุกประเด็นยุทธศาสตร์ก็ได้

. ให้มหาวิทยาลัยนำประเด็นความรู้ที่อยู่ในลำดับต้นๆ จำนวน ๒ ประเด็นความรู้ (ลำดับความสำคัญที่ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของประเด็นความรู้ทั้งหมด) มาทำแผนการจัดการความรู้ โดยการเขียนแผนการดำเนินงานในช่วงปีงบประมาณที่จะได้รับการประเมิน ซึ่งควรนำเสนอในรูป Gantt chart ซึ่งควรมีความสมเหตุสมผลในการเขียน Gantt chart ดังกล่าว

การดำเนินการจัดการความรู้ หมายถึง การที่สถาบันจัดการความรู้ได้ครบตามแผนใน Gantt chart โดยสถาบันสามารถเลือกใช้ทฤษฎีการจดั การความรู้ได้ต ามที่ประสงค์   ทั้งนี้มหาวิทยาลัยต้องเลือกจัดการความรู้อย่างน้อย ๒ ประเด็น

ความรู้ ซึ่งในแต่ละประเด็นความรู้สามารถใช้ทฤษฎีการจัดการความรู้ที่แตกต่างกันได้

. สถาบันต้องมีการประเมินความก้าวหน้าของแผนจัดการความรู้ โดยแยกให้เห็นว่าแต่ละแผนการจัดการความรู้ที่มหาวิทยาลัยนำเสนอนั้นมีความก้าวหน้าตามแผนที่วางไว้คิดเป็นร้อยละเท่าใดของแผน

. เมื่อสิ้นปีงบประมาณจะต้องดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ โดยแสดงให้เห็นว่าได้นำผลการประเมินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการทำงานปกติอย่างไรและนำผลการประเมินฯ ดังกล่าวไปใช้เพื่อวางแผน

ในการจัดการความรู้ในประเด็น/แง่มุมใดบ้าง

 

ตัวชี้วัดที่ ๒๒ ร้อยละของหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน (หลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของกระทรวง

ศึกษาธิการ พ.. ๒๕๔๘) ต่อหลักสูตรทั้งหมด

วัตถุประสงค์   เพื่อเพิ่มคุณภาพบัณฑิตให้ครบตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และทำให้ผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจต่อบัณฑิตเพิ่มขึ้น จะทำให้การได้งานทำของบัณฑิตเพิ่มขึ้น โดยการปรับปรุงหลักสูตรก่อนปีงบประมาณ ๒๕๔๙ หรือเสนอหลักสูตรใหม่ที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.. ๒๕๔๘ แม้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะให้เวลาสถาบันปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.. ๒๕๔๘ เป็นเวลา ๕ ปีก็ตาม และหากสถาบันปรับปรุงหลักสูตรให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.. ๒๕๔๘ เร็วเท่าใด สถาบัน

ก็สามารถพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

สาระสำคัญ

. จำนวนหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๑ ที่ได้มาตรฐานหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พ.. ๒๕๔๘ ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาสถาบัน และประทับรับทราบ

โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้วโด ย ให้นับสะสมได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๑ ทั้งนี้ให้นับได้ทั้งหลักสูตรปรับปรุงใหม่และหลักสูตรใหม่

. จำนวนหลักสูตรที่เปิดสอนในปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๑ เป็นจำนวนหลักสูตรที่สถาบันมีอยู่ในปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๑ ทั้งนี้ให้นับรวมหลักสูตรมิได้เปิดสอนจริง แต่สถาบันยังไม่ได้แจ้งปิดหลักสูตรให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา

รับทราบด้วย

. ในกรณีหลักสูตรที่มิได้เปิดสอนจริงในปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๑ และเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ พ.. ๒๕๔๘ โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันและประทับรับทราบโดย สกอ. แล้ว ให้นับจำนวนหลักสูตรที่ได้มาตรฐานในตัวเศษและส่วนด้วย

ข้อเสนอแนะ

. สถาบันพึงทำความเข้าใจในคำนิยามของหลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์หลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ พ.. ๒๕๔๘ ว่าต้องเห็นชอบโดยสภาสถาบันและประทับรับทราบโดย สกอ. แล้วในช่วงปีงบประมาณ พ.. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๑

. เร่งรัดการปรับปรุงหลักสูตรก่อนปีงบประมาณ ๒๕๔๙ และทำความตกลงกับ สกอ. เรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการประทับรับทราบหลักสูตร โดยที่ปรึกษาได้ประสานกับ สกอ. เบื้องต้นในเรื่องนี้ให้แล้ว

. จัดทำระบบข้อมูลหลักสูตรให้สมบูรณ์ พร้อมการประเมินตนเองเชิงประจักษ์ และการสอบทานจากผู้ประเมินภายนอก

 

 

 

 

 

 

ตัวชี้วัดที่ ๒๓ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ (การสอน) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

วัตถุประสงค์   เพื่อให้คณาจารย์ส่วนใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ มีการจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพของบัณฑิต

สาระสำคัญ   นิยามปฏิบัติการของประสิทธิภาพการเรียนรู้ (การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์ประจำมีคุณลักษณะ ๗ ประการ แสดงในคู่มือ หน้า ๒๑๒ และเกณฑ์ให้คะแนน เช่น อาจารย์ประจำส่วนใหญ่ร้อยละ ๗๕ ปฏิบัติได้ ๑ - ๒ ประเด็น ได้ ๑ คะแนน เป็นต้น)

เป็นที่น่าสังเกตว่าหน่วยนับเป็นอาจารย์ประจำแต่ละบุคคล และการให้คะแนนนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนประเด็นที่อาจารย์ประจำส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ ปฏิบัติได้ถ้าอาจารย์ประจำไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ ปฏิบัติได้ครบทั้ง ๗ ประเด็น ก็จะได้ ๕ คะแนน

การประเมินตามตัวชี้วัดนี้แตกต่างจากการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ที่ใช้พิจารณาจากภาพรวมของสถาบัน แต่กรณีนี้พิจารณาจากประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ประจำแต่ละบุคคล จึงมิอาจนำผลการประเมินไปเปรียบเทียบกัน แม้เป็นตัวชี้วัดเดียวกันแต่วิธีการประเมินและวิธีการให้คะแนนต่างกัน

ข้อเสนอแนะ

. สถาบันพึงประชมุชี้แจงให้ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดทั้งระดับสถาบัน หน่วยงานหลัก และอาจารย์ประจำทั้งหมด เข้าใจตัวชี้วัดนี้ให้ตรงตามนิยาม หน้า ๒๑๒ และ ๒๑๓

. สถาบันต้องส่งเสริมอาจารย์ประจำให้มีประสิทธิภาพการสอนตามประเด็นทั้ง ๗ เช่น การส่งเสริมให้อาจารย์มีการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น มิใช่มุ่งเน้นว่าการประเมินการเรียนการสอนว่าได้มาตรฐานตามเกณฑ์ให้คะแนนเป็นสำคัญ

. สถาบันพึงใช้การวิจัยประเมินผลโดยเก็บข้อมูลจากผู้เรียน ผู้สอนและหลักฐานต่างๆ ในการประเมินระสิทธิภาพการสอนในแต่ละประเด็น ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดประเมินตนเอง ตามเกณฑ์การให้คะแนน ตามคู่มือหน้า ๒๑๓ พร้อมเก็บหลักฐานไว้ให้สอบทานต่อไป